ความเชื่อ และคตินิยมของคนไทย

ลอยอังคาร ความเชื่อ

คติความเชื่อ ความเป็นมาในเรื่องพิธี "การลอยอังคาร" นั้น ส่วนใหญ่ไม่แตกต่างต่างกันมาก โดยทางเราได้รวบรวมในส่วนที่คนนิยมเข้ามาค้นหาศึกษาดูพิธีการใน Google ดังนี้

เครดิต : https://lifestyle.campus-star.com/knowledge/87659.html
พิธี ลอยอังคาร หมายถึง การนำเถ้าถ่านที่เหลือจากการเผาศพไปลอยในแม่น้ำ ซึ่งเป็นความเชื่อและคตินิยมของคนไทยที่มีมาช้านาน ที่เมื่อทำพิธีเก็บอัฐิและทำบุญเสร็จแล้ว นิยมรวบรวมอังคารห่อด้วยผ้าขาวหรือใส่โถ แล้วห่อด้วยผ้าขาว นำไปทิ้งแม่น้ำหรือทะเลตอนที่มีร่องน้ำลึก การลอยอังคารนี้เชื่อว่าจะช่วยส่งดวงวิญญาณของผู้ล่วงลับไปสู่ภพภูมิที่ดี ที่ที่มีแต่ความร่มเย็นเป็นสุข เหมือนดั่งสายน้ำที่มีความชุ่มเย็นอยู่เป็นนิจ ลอยอังคาร ส่งดวงวิญญาณ ให้ไปสู่ภพภูมิที่ดี
ที่มาของพิธีลอยอังคารนี้ สันนิษฐานว่าน่าจะได้รับอิทธิพลมาจากชาวอินเดีย ผู้นับถือศาสนาฮินดู ซึ่งมีความเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของแม่น้ำคงคา จึงพากันนำกระดูกและเถ้าถ่านที่เหลือ จากการเผาศพทิ้งลงสู่แม่น้ำ เพราะเชื่อว่าการสัมผัสแม่น้ำคงคา จะช่วยชำระบาปและทำให้ได้ขึ้นสวรรค์
หากคิดในแง่พระพุทธศาสนา การลอยอังคาร เป็นเสมือนสัญลักษณ์ของการละวางทั้งปวง ทั้งร่างกายและสังขาร อันเกิดจากการรวมกันของธาตุต่างๆ (ดิน น้ำ ลม ไฟ) เมื่อแตกดับก็หลงเหลือเพียงผงธุลีที่ฝากไว้ในอากาศ ในดิน และในน้ำ เป็นการกลับคืนสู่บ้านอันนิรันดร์และแท้จริงของสรรพสิ่งทั้งมวล
ในสมัยก่อนที่ยังไม่มีการสร้างเมรุหรือตะกอนเผาศพ เถ้าถ่านและกระดูกที่เหลือจากการเผาศพนั้น หากปล่อยทิ้งไว้ก็จะขาวโพลนอยู่กลางลานวัดหรือป่าช้า ถูกผู้คนเหยียบย่ำและถูกสัตว์คุ้ยเขี่ยเป็นที่อุจาดตา จึงต้องเก็บให้เรียบร้อยแล้วนำไป ลอยในแม่น้ำทั้งหมด บ้างก็ลอยแค่ส่วนหนึ่งและเก็บไว้บูชาส่วนหนึ่ง ส่วนที่เก็บไว้บูชานี้ ก็คือกระดูกหรือที่เรียกว่า อัฐิ โดยจะเก็บไว้ในโกฐ และส่วนที่นำไปลอยน้ำ ก็คือขี้เถ้า หรือที่เรียกว่า อังคารไทยรับมาทั้งพุทธ และ ฮินดู
ประเทศไทยจึงรับเอาวัฒนธรรม ประเพณีนี้มาทั้งสองทาง คือ ทั้งฮินดู และพุทธ กล่าวคือ สำหรับทางพุทธ ถ้าเป็นคนชั้นสูงก็จะก่อพระเจดีย์บรรจุอัฐิธาตุ ถ้าเป็นคนชั้นล่าง ก็เป็นแต่เพียงฝังอัฐิธาตุ หรือเอาไปกองทิ้งไว้โคนต้น ตามคติทางฮินดู ก็จะนำส่วนพระอังคาร (ถ่านที่เผาพระศพ) เชิญไปลอยปล่อยไปในแม่น้ำ .. เพิ่งมาเลิกลอยพระอังคาร เปลี่ยนเป็นบรรจุเมื่อ รัชกาลที่ 5 มานี้เองอุปกรณ์ที่ใช้ในพิธี ลอยอังคาร แบ่งเป็น 3 ชุด ดังนี้1. เครื่องไหว้แม่ย่านาง
-ดอกไม้สด 1 กำ หรือพวงมาลัย 1 พวง-ธูป 7 ดอก เทียนหนัก 1 บาท 1 เล่ม-พานเล็ก 1 ใบ (สำหรับใส่ดอกไม้ธูปเทียน)-เชือก 1 เส้น (สำหรับมัดธูปและดอกไม้ ไว้ที่เสาหัวเรือ)2. เครื่องบูชาเจ้าแม่นทีและท้าวสีทันดร
-กระทงดอกไม้ 7 สี 1 กระทง-ธูป 7 ดอก เทียนหนัก 1 บาท 1 เล่ม-พานโตก ขนาดกลาง 1 ใบ (สำหรับใช้วางกระทงดอกไม้ 7 สี)3. เครื่องไหว้อังคารบนเรือ
ลุ้งใส่อังคาร และผ้าขาวสำหรับห่อลุ้ง พวงมาลัย 1 พวง ดอกมะลิ กลีบกุหลาบ หรือดอกไม้อื่น ๆ (สำหรับผู้ร่วมพิธีโรยบนอังคาร) ดอกกุหลาบ เท่าจำนวนผู้ร่วมพิธี น้ำอบไทย 1 ขวด ธูปเทียนเครื่องทองน้อย 1 ชุด (หรือธูป 1 ดอก เทียนหนัก 1 บาท 1 เล่ม พร้อมกระถางธูปเชิงเทียน 1 ชุด) สายสิญจน์ 1 ม้วน พานโตกขนาดกลาง 1 ใบ (สำหรับรองลุ้งอังคาร) พานก้นลึกขนาดเล็ก 1 ใบ (สำหรับใส่ดอกไม้ต่าง ๆ) พานก้นตื้น 1 ใบ (สำหรับใส่เงินเหรียญ)
สถานที่ที่นิยมไปทำพิธีลอยอังคาร
1. ปากอ่าว / ปากน้ำ จังหวัดสมุทรปราการ2. หน้าวัดหลวงพ่อโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา3. ท่าเรือสัตหีบ จังหวัดชลบุรี : กองเรือยุทธการความเชื่อ คำถาม ความรู้อื่นๆ
ลอยอังคาร คือ การลอยขี้เถ้า ไม่ใช่ลอยอัฐิ ไม่ใช่เอากระดูกไปลอยทำไมถึงลอยอังคาร?
บางคนเก็บกระดูกไว้ที่วัดหรือที่บ้าน เพื่อให้ลูกหลานได้กราบไหว้หรือเพื่อระลึกถึง บางคนก็กระดูกไปทำแบบเป็นพลุยิงขึ้่นฟ้าเพื่อส่งให้ไปถึงสวรรค์ แล้วแต่วัฒนธรรมของแต่ละคนแต่ละพื้นที่ ส่วนที่นำไปลอยอังคารผู้ใหญ่หลายท่านบอกว่า เกรงว่าต่อไปลูกหลานจะไม่สนใจที่จะกราบไหว้เลยให้นำไปลอยอังคาร เพื่อให้คนตายไปแล้วได้อยู่เย็นเป็นสุขในอีกภพอีกชาติไม่ลอยอังคารได้ไหม?
จะลอยหรือไม่ลอยอังคารก็ได้ เพราะน่าจะขึ้นอยู่กับความพร้อมของญาติ และความปรารถนาของผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ว่าเขาต้องการจะให้จัดการกับกระดูกของเขาอย่างไงเป็นมลพิษทางแม่น้ำหรือไม่?
เพราะเถ้ากระดูกนั้นยังมีประโยชน์อีกมากมาย ถ้านำไปลอยในแม่น้ำอาจเป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เถ้าถ่านนั้นมีคุณค่าอย่างหนึ่งที่ส่งผลให้ให้กับต้นไม้เจริญงอกงามโครงการบริจาคอังคารของผู้วายชนม์
เป็นโครงการที่เปิดขอรับบริจาคเถ้าถ่านกระดูกของผู้วายชนม์ นำมาปลูกต้นไม้แทนการนำไปลอยอังคารตามแม่น้ำ โดยดำเนินโครงการมาตั้งแต่ปี 2551 การใช้เถ้ากระดูกมาสร้างความเจริญงอกงามให้ต้นไม้ ซึ่งเป็นกุศโลบายอย่างหนึ่งในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ในชุมชน เพราะต้นไม้แต่ละต้นที่ปลูกจะมีชื่อผู้วายชนม์ติดบอกไว้ด้วย จะทำให้คนที่เคารพนับถือผู้ตายไม่กล้ามาตัดฟันทำลายต้นไม้ต้นนี้ และจะช่วยกันรดน้ำพรวนดินทำให้ต้นไม้เจริญงอกงามคงอยู่คู่ชุมชนตลอดไป อยากร่วมบริจาคเถ้ากระดูก โทร 089-275 4211 cr : pantip.com/topic/30531018
ที่มา www.suriyafuneral.com , Yahoo.com

ประเพณี "ลอยพระอังคาร" ส่งดวงวิญญาณไปภพภูมิที่ดี

เครดิต: https://www.sanook.com/horoscope/126269/
พิธีลอยอังคาร (หมายถึง พิธีการลอย อัฐิ (กระดูก) และ อังคาร (เถ้า) ลงน้ำ) ข้อมูลเกี่ยวกับการลอยพระอังคารในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้นพบข้อมูลน้อยมาก ซึ่งส่วนมากแล้วจะพบว่าเมื่อพระมหากษัตริย์และหรือเจ้านายพระราชวงศ์ชั้นสูงที่สวรรคตหรือสิ้นพระชนม์ลงนั้น ในช่วงต้นกรุงศรีอยุธยามักจะกระทำการจัดหาสถานที่ก่อสร้างพระเมรุและทำการเผาในที่นั้น
ส่วนพื้นที่ดังกล่าวก็ยกถวายสร้างขึ้นเป็นวัดในเวลาต่อมา ส่วนอัฐินั้นก็จะนำบรรจุไว้ในพระโกศหรือหีบสี่เหลี่ยมนำไปบรรจุไว้ที่ท้ายจรนำวิหารหลวงในวัดพระศรีสรรเพชญ หากเป็นพระราชวงศ์รองมาก็ทำการสร้างพระเจดีย์รายไว้รอบวัดพระศรีสรรเพชญ ส่วนมากแล้วการลอยพระอังคารจะเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการจัดการจึงมีหลักฐานอยู่น้อยมากว่ากระทำลอยพระอังคารกันที่ไหนบ้าง
คำว่า “อังคาร” นั้น หมายถึง ถ่านไม้ ถ่านเผา ถ่านไฟที่กำลังปะทุอยู่ ในคำวัด หมายถึง เถ้าถ่านของศพ ที่เผาแล้ว แต่มักเข้าใจกันว่าหมายถึงอัฐิหรือกระดูกของคนตายที่เผาแล้ว และเมื่อทำพิธีเก็บอัฐิและทำบุญเสร็จแล้วนิยมรวบรวมห่อด้วยผ้าขาว ใส่โถหรือภาชนะที่ดูเหมาะสม แล้วห่อด้วยผ้าขาวนำไปทิ้งแม่น้ำหรือทะเลตอนที่มีร่องน้ำลึก โดยเชื่อว่าจะทำให้ผู้ล่วงลับได้อยู่ในสถานที่เย็นๆ โดยไม่มีใครรบกวน การกระทำพิธีแบบนี้เราเรียกว่า ลอยอังคาร
พิธีการลอยอังคารนั้น สันนิษฐานว่าน่าจะได้รับคตินิยมมาจากอินเดีย เหตุเพราะคนอินเดียถือว่าแม่น้ำคงคาเป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ชำระบาปได้ ด้วยเหตุนี้การเผาศพจึงชอบที่จะมาเผากันที่ริมแม่น้ำคงคากันมาก ทั้งนี้ก็เพียงเพื่อจะได้นำกระดูกและเถ้าถ่านทิ้งลงแม่น้ำแห่งนี้ เพราะถ้าไม่ได้สัมผัสกับน้ำในแม่น้ำคงคาแล้วก็จะไม่ได้ขึ้นสวรรค์ หรือไม่หมดบาปนั่นเอง
สำหรับประเทศไทยนั้น ได้มีการบันทึกในพงศาวดารกล่าวถึงพิธีการลอยอังคาร โดยเฉพาะการลอยพระอังคารของบรรดาเจ้านายต่างๆ ไว้อย่างชัดเจน และสืบเนื่องมากระทั่งกรุงรัตนโกสินทร์ อย่างไรก็ตาม ดังที่กล่าวมาแล้วว่า พิธีการลอยอังคารนั้นน่าจะมีที่มาจากอินเดีย ก็ยังคงมีความซับซ้อนไปอีกชั้นนึง โดยเชื่อว่าน่าจะมาจากอินเดียที่นับถือศาสนาฮินดูเป็นหลัก เหตุเพราะถ้าเป็นคติทางพุทธแล้ว มักจะนิยมเผาศพแล้วเอาอัฐิธาตุ (กระดูก) ฝังและก่อกองดินหรือกองหินตรงที่ฝัง ซึ่งเรียกกันว่า “สถูป”
ดังนั้นประเทศไทยจึงรับเอาวัฒนธรรมประเพณีนี้มาทั้งสองทาง คือ ทั้งฮินดูและพุทธ กล่าวคือสำหรับทางพุทธ ถ้าเป็นคนชั้นสูงก็จะก่อพระเจดีย์บรรจุอัฐิธาตุ ถ้าเป็นคนชั้นล่างก็เป็นแต่เพียงฝังอัฐิธาตุหรือเอาไปกองทิ้งไว้โคนต้น ส่วนพระอังคารหรือถ่านที่เผาพระศพ ก็จะเชิญไปลอยปล่อยไปในแม่น้ำตามคติทางฮินดู เพิ่งมาเลิกลอยพระอังคาร มีการปรับเปลี่ยนเป็นบรรจุเมื่อรัชกาลที่ 5 มานี้เองพิธีลอยอังคาร

ว่าด้วยพระราชพิธีพระบรมศพและพระเมรุมาศ ในมุมของประวัติศาสตร์ ศิลปะโบราณคดีพระราชพิธีพระบรมศพออกได้เป็น 4 ส่วนหลัก คือ
ส่วนแรก การจัดการเกี่ยวกับพระบรมศพนับจากการสรงน้ำจนถึงบรรจุลงในพระโกศ
ส่วนที่สอง พิธีกรรมต่าง ๆ ในระหว่างการตั้งพระบรมศพ และการปฏิบัติตนของผู้ที่มีชีวิต
ส่วนที่สาม กระบวนแห่พระบรมศพและงานพระเมรุ
ส่วนที่สี่ การถวายพระเพลิงและพิธีกรรมที่เกิดขึ้นภายหลัง
หลังจากขั้นตอนข้างต้นนี้จะเป็นพิธีการเก็บรักษาพระบรมอัฐิ การลอยพระอังคาร และการบรรจุพระสรีรางคาร (พระอังคาร) ที่สุสานหลวงตามลำดับ ซึ่งโดยรวมแล้วเป็นการผสมผสานกันระหว่างพิธีพุทธกับความเชื่อดั้งเดิมของคนในภูมิภาคนี้ เดิมทีในสมัยอยุธยาสถานที่ฌาปนกิจของผู้มีบรรดาศักดิ์สูงเช่นพระเจ้าแผ่นดินจะทำการสร้างพระเจดีย์ครอบทั้งอัฐิและอังคารธาตุ ความมุ่งหมายถือคตินิยมว่า ผู้ล่วงลับไปแล้วจะมีความร่มเย็นเป็นสุข แม้เกิดในภพใด ๆ ขอให้อยู่เป็นสุข เหมือนน้ำที่มีแต่ความชุ่มเย็น
เครื่องใช้ในพิธี
สำหรับบูชาแม่ย่านางเรือ– ดอกไม้สด 1 กำ หรือพวงมาลัย 1 พวง– ธูป 7 ดอก เทียนหนัก 1 บาท 1 เล่ม– พานเล็ก 1 ใบ (ใส่ดอกไม้ – ธูป – เทียน ขณะบูชาแม่ย่านางเรือ)– เชือก 1 เส้น (สำหรับมัดธูป – ดอกไม้ ที่เสาหัวเรือ) สำหรับบูชาเจ้าแม่นที – ท้าวสีทันดร– กระทงดอกไม้ 7 สี 1 กระทง– พานโตก (ขนาดกลาง) วางกระทงดอกไม้ 7 สี 1 ใบ สำหรับไหว้อังคารบนเรือ– ลุ้งใส่อังคาร และผ้าขาวสำหรับห่อลุ้ง (ลุ้งคือภาชนะดินปั้น)– พวงมาลัย 1 พวง– ดอกมะลิ – กลีบกุหลาบ หรือดอกไม้อื่น ๆ (สำหรับผู้ร่วมพิธีโรยบนอังคาร)– น้ำอบไทย 1 ขวด– ดอกกุหลาบเท่าจำนวนผู้ร่วมพิธี– ธูปเทียนเครื่องทองน้อย 1 ชุด (หรือธูป 1 ดอก เทียนหนัก 1 บาท 1 เล่ม พร้อมกระถางธูปเชิงเทียน 1 ชุด)– สายสิญจน์ 1 ม้วน– พานโตกขนาดกลาง (รองลุ้งอังคาร) 1 ใบ– พานก้นลึกขนาดเล็ก (ใส่ดอกไม้ต่าง ๆ) 1 ใบ– พานก้นตื้น (ใส่เงินเหรียญ) 1 ใบลำดับพิธี
การบูชาแม่ย่านางเรือ– คณะญาติมิตรนำอังคารไปสู่ท่าเทียบเรือ– พิธีกรนำประธานในพิธี (ญาติอาวุโส) ลงเรือก่อน นอกนั้นรอบนท่าเทียบเรือ– ประธาน นำดอกไม้ ธูปเทียน (ใส่รวมในพาน จุดบูชาแม่ย่านางที่หัวเรือ)– กล่าวบูชาและขออนุญาตแม่ย่านางเรือ โดยประธานกล่าวเองหรือพิธีกรกล่าวนำ คำกล่าวบูชาขออนุญาตแม่ย่านางเรือ
นะมัตถุ / นวานิวาสินิยา / เทวะตายะ / อิมินา สักกาเรนะ / นาวานิวาสินิง / ทวะตัง/ ปูเชมิ.
ข้าพเจ้า / ขอน้อมไหว้บูชา / แม่ย่านางเรือ / ผู้คุ้มครองรักษาเรือลำนี้/ด้วยเครื่องสักการะ เหล่านี้ ด้วยข้าพเจ้า / พร้อมด้วยญาติมิตร / ขออนุญาตนำอัฐิและอังคารของ………. / ลงเรือลำนี้ / ไปลอยในทะเล / ให้ข้าพเจ้าและญาติมิตร / กระทำพิธีลอยอัฐิและอังคารลงเรือได้ / และได้โปรดคุ้มครองรักษา / ให้ข้าพเจ้าและญาติมิตร / กระทำพิธีลอยอัฐิและอังคาร / ด้วยความสะดวกและปลอดภัย / โดยประการทั้งปวงเทอญ
– คณะญาติมิตรนำอังคารลงเรือ– ออกเรือไปยังจุดที่จะลอยอังคาร ไหว้อังคารบนเรือก่อนทำพิธีลอยลงน้ำ
– เมื่อเรือแล่นถึงจุดหมายแล้วให้หยุดเรือลอยลำ– พิธีกรเปิดลุ้งอังคารจัดเครื่องไหว้อังคารให้ประธาน– ประธานจุดธูปเทียนไหว้อังคาร สรงด้วยน้ำอบไทย โรยดอกมะลิ กลีบกุหลาบ ดอกไม้อื่น ๆ– เมื่อทุกคนไหว้อังคารเสร็จแล้ว พิธีกรห่อลุ้งอังคารด้วยผ้าขาว ยาว – กว้าง 1/2 เมตรรวบมัดด้วยสายสิญจน์ทำเป็นจุกข้างบนแล้วสอดสวมพวงมาลัย– พิธีกรแจกดอกกุหลาบให้คณะญาติมิตร คนละ 1 ดอก การบูชาเจ้าแม่นที – ท้าวสีทันดร
– พิธีกรจัดเครื่องบูชาเจ้าแม่นที – ท้าวสีทันดร ให้ประธาน– ประธานจุดเทียน 1 เล่ม และธูป 7 ดอก ที่กระทงดอกไม้ 7 สี– กล่าวบูชา / กล่าวฝากอังคารกับเจ้าแม่นที – ท้าวสีทันดรโดยประธานกล่าวเอง หรือพิธีกรกล่าวนำ คำกล่าวบูชา / กล่าวฝากอังคารกับเจ้าแม่นที – ท้าวสีทันดร
(ตั้งนะโม 3 จบ)นะมัตถุ / อิมิสสัง / มะหานะทิยา / อะธิวัตถานัง / สุรักขันตานัง / สัพพะเทวานัง / อิมินา สักกาเรนะ / สัพพะเทเว / ปูเชมะ.ข้าพเจ้าทั้งหลาย / ขอน้อมไหว้บูชา / เจ้าแม่นที / ท้าวสีทันดร / และเทพยดาทั้งหลาย / ผู้สถิตคุ้มครองรักษาอยู่ / ในทะเลนี้ / ด้วยเครื่องสักการะนี้ ด้วยข้าพเจ้าทั้งหลาย / ได้ประกอบกุศลกิจ / อุทิศส่วนบุญ / แก่……………………../ ผู้วายชนม์ / และบัดนี้ / จักได้ประกอบพิธี / ลอยอัฐิและอังคาร / ของ…………………………..พร้อมกับขอฝากไว้ / ในอภิบาล / ของเจ้าแม่นที / ท้าวสีทันดร / เจ้าแม่แห่งทะเล / และเหล่าทวยเทพทั้งปวง ขอเจ้าแม่นที / ท้าวสีทันดร / แม่ย่านางเรือ / และเทพยดาทั้งหลาย / ได้โปรดอนุโมทนา / ดลบันดาล / ให้ดวงวิญญาณ / ของ………………….. / จงเข้าถึงสุคติ / ในสัมปรายภพ / ประสบสุข / ในทิพยวิมาน / ชั่วนิรันดร์กาลเทอญ. วิธีลอย
– เมื่อกล่าวบูชา / กล่าวฝากอังคารกับเจ้าแม่นที – ท้าวสีทันดร เสร็จแล้วพิธีกรเชิญทุกคนยืนขึ้น ไว้อาลัยประมาณ 1 นาที– ประธานโยนเงินเหรียญ (ตามสมควร) ลงทะเล เพื่อซื้อที่ตามธรรมเนียม แล้วลงบันไดเรือ ทางกาบซ้าย ลอยกระทงดอกไม้ 7 สี โดยใช้มือประคอง ค่อย ๆ วางบนผิวน้ำ ต่อจากนั้นอุ้มประคองลุ้งอังคาร ค่อย ๆ วางบนผิวน้ำ โดยให้ผู้ร่วมพิธีทุกคนถือสายสิญจน์ด้วย– หากกาบเรือสูงจากผิวน้ำมากเกินไป และไม่มีบันไดลงเรือ ให้ใช้สายสิญจน์ทำเป็นสาแหรก 4 สาย จำนวนสาแหรก คือใส่กระทงดอกไม้ 7 สี 1 สาแหรก และใส่ห่อลุ้งอังคาร 1 สาแหรก หย่อนลงไป (ห้ามโยนลง)– เมื่อห่อลุ้งอังคารลงสู่ผิวน้ำแล้ว ให้โรยดอกกุหลาบ ธูปเทียน ตามลงไป และสิ่งของสำหรับไหว้บูชาที่เหลือ ทั้งหมดก็ให้โรยตามลงไปด้วย– เรือวนซ้าย 3 รอบ– เสร็จพิธี

ระเบียบปฏิบัติการประกอบพิธีศพ

ระเบียบปฏิบัติการประกอบพิธีลอยอังคาร

เครดิต: https://kalyanamitra.org/th/article_detail.php?i=16829
การกำหนดวันประกอบพิธีลอยอังคาร การกำหนดวันประกอบพิธีลอยอังคารนั้น นิยมปฏิบัติกันโดยมาก แบ่งออกได้เป็น ๒ แบบ คือ
๑. การประกอบพิธีลอยอังคาร ในวันทำบุญฉลองอัฐิ ๒. การประกอบพิธีลอยอังคาร เมื่อมีความพร้อมวันใดวันหนึ่ง

สิ่งของที่ควรเตรียมไปใช้ในการลอยอังคาร ๑. พวงมาลัยดอกไม้สด อย่างน้อย ๑ พวง (ส่วนพวงหรีดไม่นิยมนำไป) ๒. ธูป นิยมใช้ธูปหอม สำหรับจุดสักการบูชาอังคารมีจำนวนมากเพียงพอแก่ผู้ไปร่วมพิธี (คนละ ๑ ดอก) ๓. กระถางธูป ๑ ลูก มีขนาดใหญ่พอสมควร ๔. ด้ายสายสิญจน์ ๑ กลุ่ม สำหรับใช้ผูกโยงลุ้งหย่อนลงสู่ท้องทะเล ๕. กลีบดอกกุหลาบสด จัดใส่พาน มีจำนวนมากพอสมควร ๖. ก้อนหิน สัก ๒-๓ ก้อน มีน้ำหนักพอจะถ่วงลุ้งให้จมลงสู่ท้องทะเล

วิธีปฏิบัติในการลอยอังคาร อัฐิที่เหลือจากการเก็บอัฐิพร้อมทั้งอังคาร (ชี้เก้า) ที่กวาดรวมใส่กล่องโลหะ คือ ลุ้ง หรือหีบไม้ไว้นั้น นิยมนำไปบรรจุไว้ในเจดีย์ หรือนำไปลอยเสียในกระแสน้ำไหล เช่น ในทะเลหรือในแม่น้ำ แต่โดยมากนิยมนำไปลอยลงในทะเลเพื่อให้ห่างไกลชุมชน
เมื่อได้ทำบุญฉลองอัฐิและอังคาร โดยการนิมนต์พระสงฆ์ จำนวน ๕ รูป ๗ รูป ๑๐ รูป หรือนิมนต์พระสงฆ์หมดทั้งวัดสวดพระพุทธมนต์ ถวายภัตตาหารเช้า หรือถวายภัตตาหารเพล (ตามความสะดวก) นิมนต์พระสงฆ์พิจารณาบังสุกุลอัฐิและอังคารถวายเครื่องไทยธรรม พระสงฆ์ทั้งนั้นอนุโมทนาให้พร เจ้าภาพกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่ท่านผู้ล่วงลับไปแล้ว เป็นเสร็จพิธีทําบุญฉลองอัฐิและอังคารแล้ว หรือ
ถ้าเจ้าภาพยังไม่พร้อมจะจัดงานทําบุญฉลองอัฐิ และอังคารได้ ก่อนที่จะนำอังคารไปลอยนั้น นิยมนิมนต์พระสงฆ์จำนวนตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป พิจารณาบังสุกุลอังคาร ถวายเครื่องไทยธรรมพระสงฆ์อนุโมทนาให้พร เจ้าภาพกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่ท่านผู้ล่วงลับไปแล้ว
คณะเจ้าภาพซึ่งมีบุตรธิดาพร้อมด้วยญาติสนิทมิตรสหายพร้อมภันอัญเชิญอังคารนำลงเรือไปยังสถานที่สมควรจะลอยอังคารในทะเลแล้ว
ก่อนที่จะอัญเชิญอังคารลงลอยในทะเล นิยมจุดธูปแจกแก่บรรดาญาติสนิทมิตรสหายที่ไปร่วมพิธีคนละ ๑ ดอก เพื่อให้ทำการสักการบูชาอังคาร พร้อมกับบอกกล่าวแก่เทพยดาผู้รักษาทะเลหลวงให้ได้รับทราบด้วย
ประธานพิธี (โดยมาก เป็นบุตร หรือธิดา คนหัวปี) นำด้ายสายสิญจน์มาผูกที่ลุ้ง แล้วคลี่ด้ายสายสิญจน์ไปให้ญาติสนิทมิตรสหายทุกคนถือไว้ แล้วอัญเชิญลุ้งใส่อังคาร โดยถือด้วยมือทั้งสองประคองหย่อนลงสู่ทะเล พร้อมกับด้ายสายสิญจน์ด้วยกิริยาอาการแสดงความเคารพ แล้วหย่อนพวงดอกไม้สดลงตามไปพร้อมกันนั้น บรรดาญาติสนิทมิดรสหายทั้งหลายผู้ไปร่วมพิธีก็หย่อนพวงดอกไม้สด (ถ้ามี) หรือโรยกลีบดอกกุหลาบลงตามไปในทะเล เพื่อทําการสักการบูชาอังคารเป็นวาระสุดท้ายแล้วทุกคนน้อมตัวลงยกมือไหว้ พร้อมกับกล่าวคำอวยพรแก่ท่านผู้ล่วงลับไปแล้วว่า "ขอจงไปสู่สุคติ จงอยู่เป็นสุข ๆ เถิด" ดังนี้แล้ว เป็นเสร็จพิธีการลอยอังคาร
ส่วนเครื่องสักการบูชาต่างๆ และพวงหรีดทั้งหลายไม่นิยมทิ้งลงในทะเล เพราะจะทำให้น้ำในทะเลเกิดความสกปรกและจะทำให้เกิดความลำบากใจแก่ชาวประมงทั้งหลาย ตลอดถึงทำความลำบากใจแก่เจ้าหน้าที่เรือขุดลอกสันดอนอีกด้วย

ข้อเสนอแนะเพื่อพิจารณา ตามคตินิยมแต่โบราณกาลมา บรรพบูรุษของเราทั้งหลาย นิยมรวบรวมอัฐิที่เหลือและอังคาร (ขี้เล้า) ทั้งหมดนำไปบรรจุไว้ในเจดีย์ที่สร้างขึ้นไว้เป็นอนุสรณ์ของบรรพบุรุษ หรือนำไปบรรจุไว้ภายใต้ฐานพระพุทธรูป หรือนำไปเก็บรวมไว้ที่โคนต้นโพธิ์ซึ่งนิยมกันสืบมาว่าสถานที่เหล่านั้นเป็นสถานที่เหมาะสมโดยประการทั้งปวง เพราะเป็นสถานที่จะไม่มีใครมารบกวนเหยียบย่ำกล้ำกรายล่วงเกิน เป็นสถานที่เคารพสักการบูชา และเป็นสถานที่มีความร่มเย็นเป็นสุข โดยแท้
สมัยปัจจุบันนี้ มักนิยมนำอัฐิที่เหลือและอังคารไปลอยน้ำในทะเลนั้น ได้ลองสอบถามดูหลายท่านด้วยกัน ได้ความเป็นทำนองเดียวกันว่า "เพื่อต้องการจะมิให้ใครมารบกวนเหยียบย่ำกล้ำกรายล่วงเกิน และเพี่อจะให้ผู้ล่วงลับไปแล้ว มีความอยู่เย็นเป็นสุข เพราะอยู่ในน้ำ" ดังนี้
แต่ความจริงปรากฎว่า "ในการขุดลอกสันดอนที่ปากน้ำเจ้าพระยาทุกวันนี้นั้น ได้มีลุ้งใส่อังคารที่พากันนำไปลอยในทะเลนั้น ติดขึ้นมาพร้อมกับดินโคลนที่ลอกขึ้นมามีจำนวนมากทำความลำบากใจให้แก่เจ้าหน้าที่ประจำเรือขุดลอกสันดอนไม่น้อยเลย" ได้รับการบอกเล่ายืนยันความจริงมาอย่างนี้
เมื่อความจริงมีอยู่เช่นนี้ ผู้ที่หวังว่า "จะให้อัฐิและอังคารบรรพบุรุษของตนๆ มีความอยู่เย็นเป็นสุข โดยไม่มีใครมารบกวนเหยียบย่ำกล้ำกรายล่วงเกิน" นั้น เห็นจะไร้ผลเสียแล้ว
เพราะเหตุนี้ จึงขอเสนอแนะแก่ท่านผู้มั่นอยู่ในความกตัญญูกตเวที ผู้มีความหวังดีปรารถนาดีต่อบรรพบุรุษของตน ๆสมควรจะได้พินิจพิจารณาเหตุผลตามความเป็นจริงแล้วชักชวนกันหันกลับมาถือคตินิยมที่บรรพบุรุษของเราทั้งหลายได้ปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่โบราณกาลดังกล่าวแล้วข้างต้น ทั้งนี้เพื่อรักษาประเพณีอันดีงามของชาติไทยเรา และเพื่อความสบายใจด้วยกันทุกฝ่ายพร้อมทั้งเพื่อเป็นการประหยัดอีกด้วย