บทความทางศิลธรรม

ตุ๊กแกกินหัวตัวเอง

เรื่อง ตุ๊กแกกินหัวตัวเอง มีเรื่องเล่าว่า ตุ๊กแกตัวหนึ่งอาศัยอยู่ที่ต้นไม้ต้นหนึ่ง มันเป็นสัตว์ที่เกียจคร้าน แต่ละวันไม่ยอมออกไปหากิน อาศัยกินแมลงต่าง ๆ ที่อยู่ตามต้นไม้นั้นเป็นอาหาร เมื่อแมลงหมดและหิวหนักเข้าก็กัดกินขาตัวเองเพราะความหิวจัด เมื่อขาหมดแล้วก็กัดกินตัวเองจนเหลือแต่หัว ต่อมาเมื่อหิวสุดขีดจึงได้กินหัวตัวเองจนหมด ฟังนิทานเรื่องนี้แล้วก็รู้ทันทีว่าเป็นเรื่องโกหกตลกเหลือเชื่อ แต่ในการดําเนินชีวิตของคนเราในปัจจุบันก็มีคน ที่ประพฤติตัวแบบเหลือเชื่อทํานองเดียวกันนี้ กล่าวคือ มีคนจํานวนไม่น้อยบอกว่ารักชีวิตและครอบครัวตัวเอง แต่การกระทํากลับตรงกันข้ามคือ แต่ละวันเอาแต่หมกมุ่นวุ่นวายอยู่กับอบายมุขอันเป็นปากทางแห่งความหายนะ ซึ่งมีอยู่ ๖ ประเภท คือ

๑. เมาลูกเดียว

๒. เที่ยวราตรี

๓. มโหรีไม่เว้น

๔. เล่นการพนัน

๕. ติดพันมิตรชั่ว

๖. ประพฤติตัวเกียจคร้าน

อบายมุขไม่ว่าประเภทไหน ๆ หากตกอยู่ในอํานาจของมันจะทําให้ประสบกับความพินาศ เช่น การพนัน เพียงไปนั่งดูเขาเล่นก็ทําให้เสีย อย่างน้อยคือเสียเวลา ขั้นต่อมาคือมีความผิดในฐานะผู้ร่วมเหตุการณ์และผู้สนับสนุน อยู่ในที ยิ่งถ้าลงมือเล่นด้วยก็ยิ่งเสียใหญ่ สมกับคําประพันธ์ที่ว่า ถูกโจรปล้น สิบครั้ง ยังทนได้ เพราะโจรไม่ ถอนเสา เอาเรือนหนี ถูกไฟไหม้ วิบัติ เหลือปัฐพี แต่หมดตัว ทั้งชีวีต เพราะผีพนัน โปรดหยุดคิดสักนิด ไม่มีคําว่าสายเสียแล้วสําหรับการกลับตัวและเปลี่ยนใจเสียใหม่ จงพยายามรวมพลัง กายพลังใจ สลัดอบายมุขทุกชนิดให้ห่างไกล แล้วจะพบกับความสุขสดใสในชีวิตและครอบครัวอย่างลึกล้ำ ตุ๊กแกใน เรื่องนี้เพียงมันติดอบายมุขคือเกียจคร้านอย่างเดียวเท่านั้น ถึงกับกินหัวตัวเอง คนเราก็เช่นเดียวกัน แม่ติดอบายมุข เพียงประเภทเดียว ก็เหมือนกับกินชีวิตของตัวเองเข้าไปแล้ว ถ้าติดอบายมุขหลายประเภทเท่ากับว่ามิเพียงกินหัวตัวเอง เท่านั้น แต่กําลังทําลายครอบครัว ทําลายเกียรติยศชื่อเสียงและวงศ์ตระกูลไปด้วย แล้วชีวิตจะเป็นเรื่องตลกร้ายน่ากลัว ยิ่งกว่าตุ๊กแกกินหัวตัวเองอีกเป็นร้อยเท่า

www.การลอยอังคาร.com

ทำดีแล้วได้ดี

ทําดีแล้วได้ดีมีคําสอนบทหนึ่งความว่าบุคคลหว่านพืชเช่นใดย่อมได้ผล เช่นนั้นผู้ทํากรรมดีย่อมได้ผลดีผู้ทํากรรมชั่วย่อมได้ผลชั่วซึ่งเป็นจริงแก่ผู้กระทํา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันแต่บางครั้งก็มีปัญหาค้างคาใจแก่คนบางคนว่าทําดีได้ดีจริงหรือความรู้สึก เช่นนั้นอาจเกิดด้วยเหตุ ๔ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งคือ

๑. หวังมากไปหมายถึงทําความดีเพียงเล็กน้อยแต่ต้องการผลมากหวังผลเกินกว่าเหตุที่ทํา พอไม่ได้เท่ากับที่อยากจึงรู้สึกว่าทําดีไม่ได้ดีความผิดหวังก็เกิดขึ้น

๒. ใจร้อนไม่รู้จักรอคอยผลแห่งความดีอยากได้ผลเร็วๆ เมื่อทําแล้วยังไม่ได้ผลจึงทึกทักเอาว่าทําดีไม่เห็นได้ดีลืมคิดไปว่า แม้ความชั่วก็เหมือนกันไม่ใช้ทําแล้วผลชั่วก็จะพรั่งพรูออกมาทันทีทันควัน ถ้าเป็นอย่างนั้นใครจะกล้าทําชั่ว เรื่องของผลกรรมจึงเป็นเรื่องต้องเกี่ยวพันกับเวลาด้วย

๓. อ่อนไปตามเขาคนที่ทําดีนั้นบางทีก็ฝังใจว่าจะต้องได้รับคําชมหรือการยกย่องจากผู้อื่น ซึ่งเป็นเรื่องเอาแน่เอานอนไม่ได้บางทีการทําดีนั้นถ้าไปขัดกับอัธยาศัยหรือผลประโยชน์ผู้อื่นเข้า นอกจากจะไม่ได้รับการยกย่องยังถูกต่อต้านอีกต่างหากเลยทําให้หมดกําลังใจทั้งที่สิ่งเหล่านี้ ไม่ใช้ผลของการทําดีแต่เป็นแค่อุปสรรคของการทําดีเท่านั้นจึงต้องยืนหยัดให้ได้ไม่อ่อนไหวง่าย

๔. รู้เท่าไม่ถึงการณ์คือทําดีแบบขาดกุศโลบายคําว่ากุศโลบายหมายถึงความฉลาดรอบคอบหยั่งรู้ถึงเหตุการณ์ บุคคลโอกาสในการที่จะทําความดี ถ้าขาดกุศโลบายเสียแล้วก็มักจะเป็นการทําดีที่ไม่ถูกกาลไม่ถูกบุุคคลไม่ถูกเรื่องราว ผลสุดท้ายเลยเอาดีไม่ค่อยได้ถ้าทําดีแบบไม่หวังมากไปไม่ใจร้อน และไม่อ่อนไหวไปตามกระแสการกระทํานั้นก็จะเป็นไปเพื่อความสงบสุขแห่งตน ความสงบสุขที่ได้รับนี่แหละเป็นความดีของความดีที่ผู้ทําดีเท่านั้นจะพึงได้รับ

www.การลอยอังคาร.com

ปฏิทินชีวิต

ของใช้จําเป็นอย่างหนึ่งที่ขาดไม่ได้เมื่อเปลี่ยนศักราชใหม่ก็คือ ปฏิทินเพราะเป็นเครื่องมือสําคัญในการปฏิบัติงานการนัดหมายและการปฏิบัติภารกิจอื่นๆ คำว่าปฏิทินแปลตามตัวว่าเฉพาะว ันหรือสำหรับวันแปลโดยความหมายว่าแบบสําหรับดูวันเดือนปีนั่นเองแต่ถ้าจะให้ปีใหม่มีความหมายเพิ่มขึ้น เป็นจุดเริ่มของชีวิตที่ดีขึ้นจะต้องมีแบบไว้เป็นแนวทางปฏิบัติสําหรับชีวิตประจําวัน เพื่อให้เกิดความสุขความเจริญรุ่งเรืองอีกด้วยในด้านสังคมพระพุทธเจ้า ทรงวางแบบสําหรับการดําเนินชีวิตที่ดีไว้ ๔ แบบคือ

๑. แบบของการเสียสละที่เรียกว่าทานคือการให้รู้จักเอื้อเฟื้อแบ่งปันทั้งวัตถุข้าวของความสะดวกสบาย เพื่อสงเคราะห์ยึดเหนี่ยวน้ำใจกันบ้างเพื่อขัดเกลาและยกระดับจิตใจให้สูงขึ้นบ้าง

๒. แบบของการพูดท่านสอนให้พูดด้วยปิยวาจาคือพูดสุภาพไพเราะมี ความจริงใจไม่เสแสร้งพูดแล้วเกิดความสบายใจทั้งผู้พูดและผู้ฟัง

๓. แบบของการบำเพ็ญประโยชน์ได้แก่หลักอัตถจริยารู้จักอุทิศตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวมบางครั้ง แม้จะต้องเสียเวลาสำหรับประโยชน์ตนไปบ้างแต่ก็จำเป็นเพราะตนเองจะได้ประโยชน์หรือเป็นคนมีประโยชน์ก็ต่อ เมื่อรู้จักสละประโยชน์ของตนเอง

๔. แบบของการวางตัวได้แก่หลักสมานัตตตาวางตัวให้เหมาะสมกับฐานะของตนไม่ก้าวก่ายขัดแย้งหรือผิดต่อกาลเทศะ แบบสําหรับดูวันเดือนปีหรือปฏิทินประจําปีที่มีอยู่จะบอกได้เพียงวันเวลา แต่วันเวลาที่เรารู้แล้วนั้นจะดีหรือเลว และนำพาชีวิตให้เป็นอย่างไรย่อมขึ้นอยู่กับแบบสำหรับดําเนินชีวิตอีกทีหนึ่ง ทุกคนจึงควรมีปฏิทินประจําชีวิตคือแบบแผนที่ดีงามไว้เป็นเครื่องกํากับตรวจสอบตัวเองเสมออย่างน้อยก็ ๔ แบบข้างต้น

www.การลอยอังคาร.com

เวลาของเรา

มีผู้คำนวณการใช้เวลาของมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตาย ซึ่งประมาณอายุขัย ๗๐ ปีว่า มนุษย์จะใช้เวลานอนประมาณ ๒๔ ปี ศึกษาและทำงานประมาณ ๒๐ ปี พักผ่อนและรื่นเริงประมาณ ๙ ปี รับประทานอาหารประมาณ ๖ ปี เดินทางประมาณ ๒ ปี เจ็บป่วยประมาณ ๕ ปี แต่งกายประมาณ ๓ ปี และทำพิธีทางศาสนาประมาณ ๑ ปี ข้อมูลนี้ถึงจะไม่ถูกตรงหมดสำหรับทุกคน แต่ก็เป็นเครื่องเตือนใจได้

เรื่องเวลานี้ นับว่าเป็นเรื่องสำคัญ เพราะมีส่วนกำหนดพัฒนาการของสรรพสิ่งในโลกและเปรียบเหมือนทรัพยากรที่มีจำกัด ไม่สามารถเก็บสะสมไว้ใช้ในวันต่อไป หมดแล้วก็หมดเลย จึงต้องใช้อย่างรู้คุณค่า และการรู้คุณค่าของเวลานั้น มีผู้ยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพว่า หากต้องการรู้คุณค่าของเวลา ๑ ปี ให้ถามนักเรียนที่สอบตก หากต้องการรู้คุณค่าของเวลา ๑ เดือน ให้ถามแม่ที่อุ้มท้องรอเวลาคลอด หากต้องการรู้คุณค่าของเวลา ๑ สัปดาห์ ให้ถามบรรณาธิการหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ หากต้องการรู้คุณค่าของเวลา ๑ วัน ให้ถามคนงานรายวันที่มีลูกเล็ก ๆ ต้องเลี้ยงดู หากต้องการรู้คุณค่าของเวลา ๑ ชั่วโมง ให้ถามคนที่กำลังรอคอยคนรัก หากต้องการรู้คุณค่าของเวลา ๑ นาที ให้ถามคนที่พลาดรถไฟเที่ยวนั้น หากต้องการรู้คุณค่าของเวลา ๑ วินาที ให้ถามคนที่เพิ่งรอดตายจากอุบัติเหตุมาได้อย่างหวุดหวิด หากต้องการรู้คุณค่าของเวลาแค่เสี้ยววินาที ให้ถามนักวิ่งที่ได้เหรียญเงินถ้าเอ่ยขึ้นลอย ๆ ว่าเจ็ดสิบปีก็ฟังดูเหมือนนานมาก แต่ถ้าแยกแยะดังที่มีผู้คำนวณข้างต้นจะเห็นว่าเอาเข้าจริง ๆ เวลาที่จะเอามาทำสิ่งเป็นสาระแก่ชีวิตนั้นมีไม่มากเลย ผู้ไม่ประมาทจึงควรคิดเสมอว่าจะทำอะไรบ้างกับเวลาของเรา ก่อนที่เวลานั้นจะไม่มีอีกต่อไป

www.การลอยอังคาร.com

ข้อคิดจากตราสังข์

เวลาคนตายก่อนที่จะนำศพเข้าโลง สัปเหร่อจะผูกศพให้เป็นเปลาะ ๆ ด้วยด้ายดิบ เรียกว่า “ตราสัง” โดยทั่วไปจะมัดศพเป็น ๓ เปลาะ คือ ที่คอ ที่มือ และที่เท้า ขณะที่มัดศพ สัปเหร่อจะร่ายคาถา ซึ่งคนส่วนมากเข้าใจว่าเพื่อเป็นการสะกดวิญญาณคนตายไม่ให้ดุร้ายหรือมาหลอกหลอนผู้คน

เมื่อเริ่มมัดศพที่คอ สัปเหร่อจะร่ายคาถาว่า ปุตโต คีเว มัดศพที่มือจะร่ายคาถาว่า ภริยา หัตเถ และมัดศพที่เท้าจะร่ายคาถาว่า ธนัง ปาเท ความจริงแล้ว คาถาที่สัปเหร่อร่ายนั้น เมื่อแปลเป็นภาษาไทยแล้ว ความหมายไม่เกี่ยวกับการสะกดวิญญาณแต่อย่างใด แต่จุดประสงค์ของคนโบราณท่านต้องการสอนปริศนาธรรมแก่คนเป็นต่างหาก กล่าวคือ

๑. ปุตโต คีเว แปลว่า ลูกเป็นบ่วงผูกคอ คือเริ่มผูกตั้งแต่รู้ว่าลูกมาปฏิสนธิ ทั้งพ่อและแม่ก็พยายามประคับประคองทุกอิริยาบท จะกลืนอะไรลงคอสักคำก็เป็นห่วงลูก คอยระวังไม่ให้กระทบกระเทือนลูกในท้อง คลอดออกมาก็ยิ่งเป็นห่วง แม้จะเติบโตแล้วก็ยังไม่หมดห่วง คือจะทำอะไรก็ต้องคล้อยตามกันแบบจูงกันไป และต้องคอยเหนี่ยวรั้งกันและกันไว้ ด้วยกลัวลูกจะคบเพื่อนเลว ติดยาเสพติด เป็นต้น

๒. ภริยา หัตเถ แปลว่า สามีภรรยาเป็นบ่วงผูกมือ คือจะทำอะไรก็ต้องคล้อยตามกันแบบจูงกันไป และต้องคอยเหนี่ยวรั้งกันและกันไว้ด้วย มีปัญหาเกิดขึ้นก็ต้องปรึกษากัน บางครั้งอาจจะขัดแย้งกระทบกระทั่งกันบ้าง เหมือนลิ้นกับฟัน ก็ให้ยึดหลักว่า อย่าให้เจ็บตัว อย่าให้เจ็บใจ อย่าให้เสียของ และอย่าให้เสียงาน เรียกว่า ทะเลาะกันอย่างมีหลักการ

๓. ธนัง ปาเท แปลว่า ทรัพย์สมบัติเป็นบ่วงผูกเท้า คือทรัพย์ที่เราหามาได้ด้วยหยาดเหงื่อและแรงงานแสนจะลำบาก เมื่อได้มาแล้วกต้องรักต้องห่วง จะย่างเท้าห่างบ้านไปไหน ก็อดห่วงหน้าพะวงหลังไม่ได้ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา แต่ถ้าห่วงมากจนเกิดไปสุขภาพจิตย่ำแย่ ก็ต้องปล่อยวางเสียบ้าง จิตใจจะได้ปลอดโปร่ง

ดังนั้น บ่วงทั้ง ๓ คือ บุตรธิดา สามีภริยา และทรัพย์สมบัติ จึงเป็นบ่วงของคนที่ยังข้องเกี่ยวอยู่กับโลกใครปลดบ่วงทั้ง ๓ นี้ได้หมดก็สบาย แต่เมื่อยังมีบ่วงอยู่หรือยังปลดไม่หลุด ก็ต้องปฏิบัติต่อบ่วงทั้ง ๓ ให้ถูกต้องจึงจะหาความสุขได้ตามควรแก่วิสัยของชาวโลก

www.การลอยอังคาร.com

ชีวิตกับความพอดี

ความพอดีหมายถึงความลงตัวความพอเหมาะพอสมความเป็นเหตุเป็นผลในตัวเองการที่ดวงอาทิตย์ส่องสว่างกลางวัน ดวงจันทร์สุกสว่างกลางคืนดาวนับล้านดวงล่องลอยอยู่ในท้องฟ้าโลกหมุนรอบตัวเอง พร้อมกับโคจรรอบดวงอาทิตย์ทําให้เกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่สมดุลนี้คือความพอดีทางธรรมชาติ เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ทุกชีวิตบนโลกการที่สัตว์ขั้วโลกเหนือมีขนหนาไว้กันหนาว สีขาวกลมกลืนกับหิมะในขณะที่สัตว์เขตร้อนมีขนน้อยสีสันฉูดฉาดกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม ก็ถือเป็นความพอดีซึ่งเป็นประโยชน์และเกื้อกูลป้องกันภัยในชีวิตตามธรรมชาติเช่นกัน สําหรับชีวิตมนุษย์พระพุทธเจ้าทรงแสดงหลักความพอดีซึ่งเป็นประโยชน์แก่ชีวิตไว้ ๒ ระดับคือ

๑. ความพอดีระดับสูงเรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทา คือข้อปฏิบัติที่ทําให้บรรลุถึงปัญญาขั้นสูงสุดจนเข้าใจสรรพสิ่งได้ถูกต้อง ตามที่มันเป็นและปฏิบัติได้ถูกต้องสอดคล้องกับความจริงที่เป็นไปตามเหตุปัจจัยไม่กะเกณฑ์ หรือเข้าใจไปตามที่ตนอยากให้เป็นแล้วปฏิบัติไปตามที่อํานาจความอยากชักพาข้อปฏิบัตินี้คือมรรคมีองค์ ๘ หรือย่อให้สั้นเป็นศีลสมาธิและปัญญา

๒. ความพอดีระดับสามัญเรียกว่ามัตตัญญุตา - ความรู้จักประมาณคือความพอเหมาะพอดีในการดําเนินชีวิตในเรื่องสําคัญๆ เช่น ในการกินให้กินแต่พอดีไม่น้อยไปจนเป็นโรคขาดอาหารไม่มากไปจนเป็นโรคอ้วนกินตามความต้องการของธรรมชาติ ไม่กินตามความต้องการของกิเลสในการแสวงหาให้รู้จักยินดีในสิ่งที่ได้มา แสวงหาให้เหมาะแก่กําลังและระมัดระวังเรื่องดี-ชั่วในการทําหน้าที่ต้องท ําให้ถูกคือไม่ให้ผิดหน้าที่ทําให้ครบคือไม่ให้บกพร่องเสียหายหากยังเข้าถึงความพอดี ในระดับสูงไม่ได้จําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องยึดความพอดีในระดับสามัญไว้หาไม่ แล้วชีวิตจะไม่เหลือความพอดีสักอย่างจนทําให้เกิดปัญหามากมายตามมาดุจธรรมชาติ และทรัพยากรในโลกที่ถูกทําลายจนขาดความสมดุลและเกิดผลกระทบอย่างรุนแรงในปัจจุบัน

www.การลอยอังคาร.com